สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Mathematics Science, Maejo University

สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาของสาขา ฯ ที่ได้รับรางวัลประกวดการนำเสนอผลงานวิชาการ ในโครงการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ระดับชาติ ครั้งที่ 2 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในวันที่ 18 มีนาคม 2564 โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

??ภาคบรรยาย
ระดับดีเยี่ยม จำนวน ๑ รางวัล
นายคณิน ฉัตรธนพงศ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
(ศึกษาสมาชิก 2-โพเทนท์ ในโมนอยด์ ของไฮเปอร์สับสติติวชัน ที่วางนัยทั่วไป สำหรับระบบพีชคณิตชนิด (2;2))

ระดับดีมาก จำนวน ๑ รางวัล
นายธีรชัย มีวงศ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
(การมีเสถียรภาพเชิงเส้นกำกับแบบวงกว้างของแบบจำลองการแพร่ระบาด SVIR)

ระดับดี จำนวน ๑ รางวัล
นางสาวกนกวรรณ กระตุฤกษ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
(สมบัติเชิงโครงสร้าง กึ่งกรุปย่อย ของไฮเปอร์สับสติติวชัน เชิงสัมพันธ์ ที่วางนัยทั่วไป

ชมเชย จำนวน ๒ รางวัล
๑. นายสาริน สมเป็ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้
(สมาชิกปกติทางซ้ายและทางขวาของโมนอยด์ ของไฮเปอร์สับสติติวชัน เชิงความสัมพันธ์สำหรับระบบพีชคณิตชนิด (2;2))
๒. นางสาวลัดดาวัลย์ บวรศักดิ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
(ค่าคลาดเคลื่อนจาก การประมาณค่าในช่วง)

??ภาคโปสเตอร์
ระดับดีมาก จำนวน ๑ รางวัล
นายวิศรุต วาจาชื่น มหาวิทยาลัยแม่โจ้
(การพยากรณ์จำนวนคดียาเสพติดโดยใช้วิธีปรับเรียบเอ็กซ์โพเนนเชียลแบบวินเทอร์)

ระดับดี จำนวน ๑ รางวัล
นางสาวสุดารัตน์ สว่างแจ้ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้
(การมีเสถียรภาพแบบเชิงเส้นกำกับของระบบโครงข่ายประสาทที่มีตัวหน่วงแปรผัน
ตามเวลาแบบช่วง)

ชมเชย จำนวน ๑ รางวัล
นางสาวศจิกา ศรีรัตนสุวรรณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
(การศึกษาการระบาดของโรคโควิด-19 ในการระบาดช่วงแรกในประเทศไทยโดยตัวแบบ SIR)

ปรับปรุงข้อมูล : 22/4/2564 14:00:59     ที่มา : สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 701

กลุ่มข่าวสาร :

ข่าวล่าสุด

โครงการสร้างเสริมและพัฒนาทักษะวิชาชีพ Upskill & Reskill สำหรับศิษย์เก่าสาขาวิชาคณิตศาสตร์
เมื่อวันเสาร์ที่ 3 พฤษภาคม 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดโครงการ สร้างเสริมและพัฒนาทักษะวิชาชีพ Upskill & Reskill สำหรับศิษย์เก่าสาขาวิชาคณิตศาสตร์ ในรูปแบบผสมผสาน (Hybrid) ทั้งออนไลน์ผ่านโปรแกรม Microsoft Teams และออนไซต์ ณ ห้อง Science Digital Lab อาคาร 60 ปี คณะวิทยาศาสตร์ โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) ให้กับศิษย์เก่า พร้อมเสริมศักยภาพในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในภาคการทำงานให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคดิจิทัล กิจกรรมตลอดทั้งวันประกอบด้วยการบรรยายและอบรมเชิงปฏิบัติการ ดังนี้ • บรรยายหัวข้อ:“ทำความรู้จักกับ AI ในชีวิตประจำวันและการทำงาน” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สายัณห์ อุ่นนันกาศ รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและวิเทศสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ • อบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) 3 หัวข้อหลัก • “รู้จักเครื่องมือ AI ยอดฮิต” โดย ว่าที่ร้อยตรี ดร.มาโนชญ์ ตนสิงห์ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ • “AI ช่วยจัดการงานด้านคณิตศาสตร์” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สายัณห์ อุ่นนันกาศ • “AI สำหรับวางแผน/นำเสนองานเชิงประสิทธิภาพ” โดย ว่าที่ร้อยตรี ดร.มาโนชญ์ ตนสิงห์ • บรรยายหัวข้อ:“จริยธรรม AI” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จีรวรรณ พัชรประกิติ รองประธานอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรคณิตศาสตร์ โครงการในครั้งนี้ได้รับความสนใจจากศิษย์เก่าและบุคลากรภายนอกเป็นจำนวนมาก ทั้งในรูปแบบออนไลน์และออนไซต์ สะท้อนให้เห็นถึงความตื่นตัวและความพร้อมของศิษย์เก่าในการปรับตัวและพัฒนาทักษะให้เท่าทันกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในยุค AI
4 พฤษภาคม 2568     |      247
สาขาวิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมหารือสร้างความร่วมมือทางวิชาการกับ Pampanga State Agricultural University (PSAU)
วันที่ 29 เมษายน 2568 คณาจารย์จากสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เข้าร่วมประชุมหารือกับผู้บริหารระดับมหาวิทยาลัยของ Pampanga State Agricultural University (PSAU) สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิดและวางแผนความร่วมมือทางวิชาการในระดับนานาชาติการประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานรายวิชา 10300499 การศึกษา หรือฝึกอบรม หรือฝึกงานต่างประเทศ ซึ่งเป็นรายวิชาที่มุ่งเน้นการส่งเสริมให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงในบริบทสากล ทั้งด้านวิชาการ วัฒนธรรม และการพัฒนาทักษะวิชาชีพความร่วมมือดังกล่าวนับเป็นอีกก้าวสำคัญของสาขาวิชาคณิตศาสตร์ในการพัฒนาหลักสูตรให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับแนวโน้มการศึกษาในระดับโลก และเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาในการเป็นพลเมืองโลกที่มีคุณภาพ
4 พฤษภาคม 2568     |      202
คณาจารย์และนักศึกษาของสาขาวิชาคณิตศาสตร์เข้าร่วมงานประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 6 (CSTI-MJU 2025)
ในวันที่ 27 มีนาคม 2568 คณาจารย์และนักศึกษาของสาขาวิชาคณิตศาสตร์เข้าร่วมงานประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 6 (CSTI-MJU 2025) โดยมีตัวแทนนักศึกษาของสาขาฯ เข้าร่วมนำเสนอผลงานทางวิชาการทั้งในรูปแบบบรรยายและโปสเตอร์ ซึ่งนักศึกษาจะได้พัฒนาทักษะด้านภาษาในการสื่อสารได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพรวมทั้งยังได้ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการในด้านคณิตศาสตร์การเงินและการประกันภัย หรือด้านวิทยาการข้อมูลอุตสาหกรรมเกษตร นอกจากนี้คณาจารย์ของสาขายังได้ร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินการนำเสนอผลงานทางวิชาการทั้งในรูปแบบบรรยายและโปสเตอร์ในการจัดประชุมวิชาการดังกล่าวอีกด้วย
29 มีนาคม 2568     |      5644
โครงการสำรวจความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย : ศิษย์เก่าและผู้ใช้บัณฑิตเพื่อการพัฒนาหลักสูตร
วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2568 คณาจารย์ของสาขาวิชาคณิตศาสตร์ได้เข้าสำรวจความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากศิษย์เก่าและผู้ใช้บัณฑิตเพื่อนำข้อมูลที่ได้รับมาปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน โดยได้รับความอนุเคราะห์จากศิษย์เก่าและสถานประกอบการ ดังนี้1. นางสาวรุ้งลาวัลย์ ภูเขา   โรงเรียนต้นกล้า2. นางสาววนิดา ดอกเกตุ    โครงการเจ สเปซ สันทราย3. นางสาวพัชราภรณ์ หยกลลิตเลิศล้ำ     The Rise Suites Hotel4. นางสาวปิยวดี  สัตถาผล    สถาบันกวดวิชา IQ PLUS    5. นายอิบรอเฮม มุสิกะพันธ์    โรงเรียนดอยสะเก็ดวิทยาคม6. นางสาวปริศนา มหาวงค์     บริษัท เอ็นพีดี เชียงใหม่ ดิเวลลอปเมนท์ จำกัด7. นางสาวกฤติญาภรณ์  พุทธกาล     บริษัทหลักทรัพย์ฟิลลิป(ประเทศไทย)จำกัด(มหาชน) 8. นางสาวศิริพรรณ สุกันโท     โรงพยาบาลเชียงใหม่ ราม9. นายกิตติพัทธ์  อภิวงษา    Dr. Namwan Clinic โดย SNS Solutions สาขาเชียงใหม่10. นางสาววิชชุตา สุบินรักษ์    ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทางสาขาวิชาคณิตศาสตร์ต้องขอขอบพระคุณทางศิษย์เก่าและสถานประกอบการเป็นอย่างสูงที่ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และเอื้อเฟื้อสถานที่ในการสำรวจครั้งนี้ 
20 มีนาคม 2568     |      1621